วันพุธที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ตัวอย่างคำสั่ง SQL


ตัวอย่างคำสั่ง SQL

คำสั่ง Select
คำสั่ง Select ใช้เป็นประโยคคำสั่งในการส่งออกเรคคอร์ด ตามเกณฑ์ในการเลือก
ไวยากรณ์
SELECT fieldname1, fieldname2,...
FROM tablename1, tablename2,...
[Where Condition]
[Group By]
[Having]
[Order By];
[ ] –
ตัวเลือก
แสดงทุกฟิลด์และทุกเรคคอร์ด ใน table เดียว เช่นการข้อทั้งหมดใน table ชื่อ publishers
SELECT * FROM Publishers ;
แสดงบางฟิลด์ ซึ่งชื่อฟิลด์ ที่มีเครื่องหมายพิเศษ หรือมีการเว้นวรรคให้อยู่ในวงเว็บก้ามปู [ ]
SELECT PubID, [Company Name], Address FROM Publishers;
แสดงฟิลด์ที่เป็น expression และตั้งชื่อใหม่ (ให้ใช้ As)
SELECT Author, 2000 - [Year Born] As Age FROM Authors;
การใช้ฟังก์ชัน aggregate
SELECT COUNT ([Year Born]) FROM Authors;
การเลือกเฉพาะเรคคอร์ด ที่ต้องการด้วย WHERE clause
SELECT Name, City FROM Publishers WHERE State = ‘CA’;
การเลือกเฉพาะเรคคอร์ดด้วย WHERE Clause หลายเงื่อนไขต้องเชื่อมด้วย AND หรือ OR เช่น state เป็น CA และ Name ขึ้นต้นด้วย M
SELECT * FROM Publishers WHERE State = ‘CA’ AND name LIKE ‘m%’;
การเรียงและจัดกลุ่ม
การเรียงใช้ ORDER BY clause
SELECT * FROM Publishers ORDER BY [Company Name] ;
การเรียงจากน้อยไปมากให้ใช้คีย์เวิร์ด DESC ต่อท้ายฟิลด์ต้องการเรียงจากน้อยไปมาก
SELECT * FROM Publishers ORDER BY State, City DESC;
การจัดกลุ่มใช้ GROUP BY Clause
SELECT [Year Published], Count (*) As Title In Year FROM Titles
GROUP BY [Year Published];
ให้แสดงจำนวนหนังสือใน 10 ปีสุดท้าย
SELECT TOP 10 [Year Published], COUNT (*) As Title In Year FROM Titles
GROUP BY [Year Published] ORDER BY [Year Published] DESC;
การคัดเลือกด้วยเขื่อนไขของ HAVING Clause เช่น แสดงเฉพาะที่มีจำนวนหนังสือมากกว่า 50
SELECT [Year Published], COUNT (*) As Title In Year FROM Titles
GROUP BY [Year Published] HAVING COUNT ((*) >50);
คิวรี่ย่อย
คิวรี่ย่อย เป็นการใช้ประโยคคำสั่ง Select ภายในประโยคคำสั่ง Select อีกคำสั่งสำหรับการค้นหาที่ซับซ้อน
SELECT * FROM Title WHERE Pub ID =
(SELECT pubID FROM Publishers WHERE Name = ‘MACMILLIAN’);
JOIN
JOIN ใช้สำหรับการดึงข้อมูลจาก 2 table ที่สัมพันธ์กับผ่านฟิลด์ร่วม ถ้าแถวของ table แรกแสดงตามฟิลด์ของ table ที่สอง ให้ใช้ ON clause ในคำสั่ง JOIN
SELECT Title.Title, Titles. [Year Published], Publishers.Name FROM Titles
INNER JOIN Publishers ON Titles.PubID = Publishers.PubID
การใช้ไวยากรณ์ tablename.fieldname เช่น Titles.PubID เมื่อชื่อฟิลด์มีอยู่ใน 2 table ที่เชื่อมกัน
นอกจากมี LEFT JOIN สำหรับการแสดงเรคคอร์ดของ table แรกทั้งหมดถึงแม้จะมีเรคคอร์ดของ table แรกมีค่าของฟิลด์ที่ไม่ตรงกับฟิลด์เชื่อมของ table ที่สอง
SELECT Titles.Title, Titles.[Year Published], Publishers.Name FROM Titles
LEFT JOIN Publishers ON Titles.PubID = Publishers.PubID;
RIGHT JOIN สำหรับการแสดงเรคคอร์ดของ table ที่สองทั้งหมด ถึงแม้ว่าจะมีเรคคอร์ดของ table ที่สองมีค่าของฟิลด์ที่ไม่ตรงกับฟิลด์เชื่อมของ table แรก
UNION
การนำ table 2 ต่อกัน สามารถทำได้โดยใช้คีย์เวิร์ด UNION
SELECT Name, Address, City FROM Customers
UNION SELECT CompanyName, Address, City FROM Suppliers
คำสั่ง Insert Into
คำสั่ง INERT INTO ใช้ในประโยคคำสั่งสำหรับการเพิ่มเรคคอร์ดใหม่
ไวยากรณ์
INERT INTO tablename [(fieldname1, fieldname2,...)]
VALUES (value1, value 2,...);
[ ]
ตัวเลือก
หมายเหตุจำนวน value ต้องเท่ากับ fieldname
INERT INTO Authors (Author, [Year Born] VALUES (‘Frank Whale’, 1960);
คำสั่ง Update
คำสั่ง UPDATE ใช้ในประโยคคำสั่งสำหรับการปรับปรุงค่าในเรคคอร์ด
ไวยากรณ์
UPDATE tablename
SET fieldname = expression
WHERE [condition];
[ ]
ตัวเลือก
UPDATE Authors SET [Year Born] = 1961 WHERE Author = ‘Frank Whale’;





ที่มา:http://www.widebase.net/database/sql/sqlquery/sqlquery12.shtml

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น